การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 นั้น มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนและมั่นคงมากยิ่งขึ้นส่งผลให้ในด้านต่างๆของสังคมไปในทิศทางที่ดี ไม่ว่าจะเป็น การเรียนการสอนหรือด้านเศรษฐกิจการที่เราเรียนรู้สะสมประสบการณ์ด้านต่างๆ ในชีวิตนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเพื่อที่วันหนึ่งในอนาคตเราจะได้ใช้มันเปลี่ยนแปลงตนเอง จากเนื้อหาข้างต้นดิฉันมีความรู้สึกว่า เนื้อหามีความคล้ายคลึงกับวิจัย "การเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21" ของ ศาสตราจารย์ นายเเพทย์ วิจารณ์ พานิช และมีบางประโยคที่เหมือนกันเช่น "ครูไม่จำเป็นต้องสอน" อาจเป็นเพราะหัวข้อวิจัยใกล้เคียงกันเนื้อหาเลยใกล้เคียงกันซึ่งวิจัยของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช ดิฉันได้เคยศึกษามาบ้างแล้ว ทำให้เมื่อได้อ่านก็รู้สึกคุ้นขึ้นมาทันทีและทำความเข้าใจง่าย
วัตถุประสงค์ ของงานวิจัยนี้เป็นการตั้งวัตถุประสงค์ได้ชัดเจนตรงตามเป้าหมายและตรงประเด็นและมีประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังค้นคว้าเรื่องนี้อยู่ เมื่ออ่านวัตถุประสงค์ก็จะทำให้เข้าใจถึงทิศทางของเนื้อหาได้เป็นอย่างดี ผู้วิจัยมีการค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งที่มาได้หลากหลายทั้งทฤษฎีและงานวิจัย เอกสารข้อมูล บทความวิชาการ เป็นต้น จึงทำให้มีความน่าเชื่อถือสูง ผลการศึกษาของวิจัยนี้มีความต้องการให้พัฒนาต่อยอดสิ่งที่มีอยู่แล้วพัฒนาให้ดีขึ้นไปอีก ซึ่งดิฉันก็เห็นด้วย การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่แค่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เสมอไปการต่อยอดในสิ่งเดิมก็ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน องค์ประกอบของการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดทฤษฎีของ เมสิโรว์ เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของรอบการอ้างอิงจะเกิดขึ้นได้ด้วยการอาศัยเครื่องมือการเรียนรู้ที่สำคัญ 2 อย่าง คือ การใคร์ครวญในตนเองและการสนทนาเชิงวิพากษ์ ซึ่งตัวดิฉันเองก็ไม่เคยศึกษาทฤษฎีของ เมสิโรว์ เลยเมื่ออ่านจึงไม่เข้าใจ แต่เมื่อได้ทำการศึกษามาพอสังเขปก็เข้าใจว่า ผู้วิจัยต้องการให้ผู้ที่ศึกษาสะท้อนความเชื่อ มุมมองและการใช้เหตุผลที่ถูกต้อง ผ่านทฤษฎีนี้ ซึ่งผู้เขียนวิจัยก็ได้เลือกทฤษฎีที่เข้าใจง่ายและตอบโจทย์ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทำให้ผู้ที่ศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น ขั้นตอนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงนี้ทั้งหมด 10 ข้อ แต่ละข้อมีความชัดเจนว่าต้องให้เป็นแบบไหนอย่างไร ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้ค้นคว้ามาก แต่ 10 ข้อนี้มีความรู้สึกว่าเมื่ออธิบายออกมาแล้วมีใจความสำคัญคล้ายกันไม่แตกต่างกันมากจึงทำให้รู้สึกว่าอ่านวนไปวนมา กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของงานวิจัยนี้ทำออกมาในรูปแบบตารางจึงทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อนมีระเบียบ เนื้อหาอ่านแล้วเข้าใจไม่ต้องอธิบายให้มากมาย การนำแนวคิดการพัฒนาจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 การแก้ไขปัญหา ด้วย การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ถือว่าเป็นเรื่องดีจะทำให้สามารถใช้เป็นและนำไปต่อยอดได้ ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มเข้าไปถือว่าเป็นเรื่องที่ดีขึ้นไปอีก เพราะจะทำให้เห็นผลงาน และรูปแบบที่แตกต่างออกไปทั้งภาพ แสง สี เสียง ที่ได้มิติและเหมือนจริง การติดต่อสื่อสารในการทำงานก็ง่ายสะดวกรวดเร็ว การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่การจัดการเรียนการสอน การคิดนอกกรอบหรือการคิดแบบอิสระเป็นเรื่องที่ดีเห็นด้วยเราจะได้มีติตนาการและผลงานสร้างสรรค์ใหม่ๆ แต่การคิดเพ้อฝันก็ใกล้เคียงกันนิดเดียวทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะคิดอย่างไรจะต้องยึดหลักวัตถุประสงค์และเหตุผลความเป็นไปได้เป็นหลัก แต่หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นก็จงอย่าได้เสียใจคิดว่าคือประสบการณ์ซึ่งเราสามารถทำประสบการณ์เล่านี้ไปต่อยอดได้อีกจากเนื้อหาผู้วิจัยต้องการให้ผู้ที่ได้ศึกษาวิจัยฉบับนี้เปลี่ยนแปลงและได้รับความรู้ตามวัตถุประสงค์ ซึ่งในศตวรรษที่ 21 นี้พลเมืองทุกคนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจทางดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ประชาชนทั่วไปจะต้องรู้
วัตถุประสงค์ ของงานวิจัยนี้เป็นการตั้งวัตถุประสงค์ได้ชัดเจนตรงตามเป้าหมายและตรงประเด็นและมีประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังค้นคว้าเรื่องนี้อยู่ เมื่ออ่านวัตถุประสงค์ก็จะทำให้เข้าใจถึงทิศทางของเนื้อหาได้เป็นอย่างดี ผู้วิจัยมีการค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งที่มาได้หลากหลายทั้งทฤษฎีและงานวิจัย เอกสารข้อมูล บทความวิชาการ เป็นต้น จึงทำให้มีความน่าเชื่อถือสูง ผลการศึกษาของวิจัยนี้มีความต้องการให้พัฒนาต่อยอดสิ่งที่มีอยู่แล้วพัฒนาให้ดีขึ้นไปอีก ซึ่งดิฉันก็เห็นด้วย การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่แค่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เสมอไปการต่อยอดในสิ่งเดิมก็ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน องค์ประกอบของการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดทฤษฎีของ เมสิโรว์ เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของรอบการอ้างอิงจะเกิดขึ้นได้ด้วยการอาศัยเครื่องมือการเรียนรู้ที่สำคัญ 2 อย่าง คือ การใคร์ครวญในตนเองและการสนทนาเชิงวิพากษ์ ซึ่งตัวดิฉันเองก็ไม่เคยศึกษาทฤษฎีของ เมสิโรว์ เลยเมื่ออ่านจึงไม่เข้าใจ แต่เมื่อได้ทำการศึกษามาพอสังเขปก็เข้าใจว่า ผู้วิจัยต้องการให้ผู้ที่ศึกษาสะท้อนความเชื่อ มุมมองและการใช้เหตุผลที่ถูกต้อง ผ่านทฤษฎีนี้ ซึ่งผู้เขียนวิจัยก็ได้เลือกทฤษฎีที่เข้าใจง่ายและตอบโจทย์ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทำให้ผู้ที่ศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น ขั้นตอนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงนี้ทั้งหมด 10 ข้อ แต่ละข้อมีความชัดเจนว่าต้องให้เป็นแบบไหนอย่างไร ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้ค้นคว้ามาก แต่ 10 ข้อนี้มีความรู้สึกว่าเมื่ออธิบายออกมาแล้วมีใจความสำคัญคล้ายกันไม่แตกต่างกันมากจึงทำให้รู้สึกว่าอ่านวนไปวนมา กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของงานวิจัยนี้ทำออกมาในรูปแบบตารางจึงทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อนมีระเบียบ เนื้อหาอ่านแล้วเข้าใจไม่ต้องอธิบายให้มากมาย การนำแนวคิดการพัฒนาจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 การแก้ไขปัญหา ด้วย การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ถือว่าเป็นเรื่องดีจะทำให้สามารถใช้เป็นและนำไปต่อยอดได้ ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มเข้าไปถือว่าเป็นเรื่องที่ดีขึ้นไปอีก เพราะจะทำให้เห็นผลงาน และรูปแบบที่แตกต่างออกไปทั้งภาพ แสง สี เสียง ที่ได้มิติและเหมือนจริง การติดต่อสื่อสารในการทำงานก็ง่ายสะดวกรวดเร็ว การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่การจัดการเรียนการสอน การคิดนอกกรอบหรือการคิดแบบอิสระเป็นเรื่องที่ดีเห็นด้วยเราจะได้มีติตนาการและผลงานสร้างสรรค์ใหม่ๆ แต่การคิดเพ้อฝันก็ใกล้เคียงกันนิดเดียวทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะคิดอย่างไรจะต้องยึดหลักวัตถุประสงค์และเหตุผลความเป็นไปได้เป็นหลัก แต่หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นก็จงอย่าได้เสียใจคิดว่าคือประสบการณ์ซึ่งเราสามารถทำประสบการณ์เล่านี้ไปต่อยอดได้อีกจากเนื้อหาผู้วิจัยต้องการให้ผู้ที่ได้ศึกษาวิจัยฉบับนี้เปลี่ยนแปลงและได้รับความรู้ตามวัตถุประสงค์ ซึ่งในศตวรรษที่ 21 นี้พลเมืองทุกคนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจทางดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ประชาชนทั่วไปจะต้องรู้
นางสาวอัญชลิตา พรหเมศ
รหัสนักศึกษา 61181300019
คณะครุศาสตร์ สาขาภาษาจีน